UTK Talent Mobility
Blog
Download
คณบดีและผู้อำนวยการ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
คณะบริหารธุรกิจ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์
คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
ค่านิยมหลัก
จดหมายข่าว UTK TM
ต้นไม้และสีประจำมหาวิทยาลัย
ติดต่อสอบถาม
ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ผู้อำนวยการกองและหัวหน้าน่วยงาน
รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยฯ
วิทยาลัยนานาชาติ
สภาพแวดล้อม
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
หน้าแรก
ห้องพยาบาล
ห้องสมุด
ห้องออกกำลังกาย
หอประชุมใหญ่
อธิการบดี ทีมผู้บริหารและผู้ช่วยอธิการบดี
แผนยุทธศาสตร์การบริหาร
TALENT MOBILITY ก้าวที่ต้องก้าว ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย
สำนักงานสหกิจศึกษาและสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เดินหน้าก้าวต่อไปกับโครงการ Talent Mobility ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินโครงการ Talent Mobility ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย
จากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยได้เห็นชอบกิจกรรมและกรอบวงเงินงบประมาณการสนับสนุนกิจกรรม การดำเนินโครงการส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ นั้น
ในระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ ผู้อำนวยการสำนักงานสหกิจศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูศักยฐ์ กมลขันติธร และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายชล ชุดเจือจีน นำทีมผู้บริหารและบุคลากรด้าน Talent Mobility จำนวน ๑๕ คน เข้าร่วมโครงการโครงการพัฒนาบุคลากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินโครงการ Talent Mobility ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโรงแรมชฎา แอท นคร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกรอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ”นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงาน Talent Mobility” “แนวทางการดำเนินโครงการ Talent Mobility ตามกรอบของ สกอ.”และ“การจับคู่สถานประกอบการกับนักวิจัยผ่านกระบวนการสหกิจศึกษา” อภิปรายและบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญร่วมกันจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ผศ.ชูศักยฐ์ กมลขันติธร ผศ.ดร.สายชล ชุดเจือจีน และผศ.ชัชวาลย์ สุขมั่น ร่วมกับ ผศ.ดร.นิยม กำลังดี ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.อัตนันท์ เตโชพิศาลวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สำนักงานสหกิจศึกษา เชื่อมั่นว่าหากโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จะมีจำนวนนักวิจัยที่เห็นความสำคัญและเข้าร่วมโครงการฯเพิ่มขึ้น สามารถเกิดเครือข่ายการจับคู่สถานประกอบการกับนักวิจัยภาคใต้ได้ และหน่วยงานสามารถนำผลสำเร็จของการดำเนินงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งทางสำนักงานสหกิจศึกษาจะนำเสนอการดำเนินงานต่อไป
June 9, 2018
TM_Admin
ข่าวประกาศ